งานวิจัยที่มีผู้เข้าดูมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ อ่าน รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
92924
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92874
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
92285

งานวิจัยที่มีผู้เข้าดาวน์โหลดมากที่สุด

ชื่อเรื่อง ประเภทงานวิจัย ปีที่พิมพ์ ดาวน์โหลด รายละเอียด
การเปรียบเทียบผลของการใช้กรดซิตริก (Citric Acid) และสารละลาย เกลือแกง (Sodium chloride) ที่มีความเข้มข้นและระยะเวลาแตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อการยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาสีน้าตาลในแอปเปิลตัดแต่ง งานวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร 2555
356
อิทธิพลของการใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอกต่อการให้ผลผลิตของดาวเรืองพันธุ์ ทองเฉลิม 5011 งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
570
การใช้นํ้าหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผักกาดหอมเรดโอ๊คที่ปลูก ในระบบไฮโดรโปนิกส์ งานวิจัยสาขาเกษตรศาสตร์ 2556
345

อิทธิพลของ Heiter และ น้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อ การยืดอายุการปักแจกันของเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ
ผู้วิจัย นางสาวพรสวรรค์ แปลงศรี | ปีที่พิมพ์ 2558 | อ่าน 89177 ครั้ง ดาวน์โหลด 29 ครั้ง

บทคัดย่อ

 

เรื่องอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกัน    

ของเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ
 Effect of Heiter and Lemonade on Vase Life of White

Chrysanthemum (cv. Yuko)

โดยนางสาวพรสวรรค์  แปลงศรี

ชื่อปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา  2558

อาจารย์ที่ปรึกษา   อาจารย์ ดร.สุจิตรา  สืบนุการณ์

 

ศึกษาอิทธิพลของ Heiterและน้ำมะนาวสำเร็จรูป ต่อการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ โดยวางแผนการทดลองแบบ6x 5Factorial in Completely Randomized Design เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำประปา) รวมทั้งหมด 31 กลุ่มทดลอง แต่ละกลุ่มทดลองมี 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ก้าน เป็นเวลา 28 วัน ผลการทดลอง พบว่า การใช้สารละลาย Heiterความเข้มข้น 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 5 mlมีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากสามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานที่สุด คือ 23.40 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดปานกลาง คือ -18.69% รองลงมาได้แก่ การใช้สารละลาย Heiter 0.1% ร่วมกับน้ำมะนาวสำเร็จรูป 15 ml มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 22.80 วัน และมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสด เท่ากับ -12.42% มีค่าแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01) นอกจากนี้จากการทดลองพบว่า การใช้สารละลาย Heiter 0.7-0.9% ร่วมกับ น้ำมะนาวสำเร็จรูป ในความเข้มข้นที่สูงขึ้น ส่งผลให้ค่า pH ของสารละลายมีความเป็นด่างมากขึ้น อายุการปักแจกันมีแนวโน้มสั้นลง และดอกเบญจมาศมีอัตราการดูดน้ำผิดปกติ ดังนั้นหากต้องการยืดอายุการปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ขาวยูโกะ ควรใช้ความเข้มข้นของสารละลาย Heiterเท่ากับ 0.1% และไม่เกิน 0.3% ร่วมกับการแปรผันความเข้มข้นของน้ำมะนาวสำเร็จรูประหว่าง 5-20 ml และควรปรับ pH ของสารละลายให้มีสภาพเป็นกรด จึงทำให้สามารถยืดอายุการปักแจกันเฉลี่ยได้นานกว่าชุดควบคุม (น้ำประปา) ที่มีอายุการปักแจกันเฉลี่ย 15.60 วัน



ผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ
ผู้วิจัย นายครรชิตพล โพธิ์พรหม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89120 ครั้ง ดาวน์โหลด 42 ครั้ง

บทคัดย่อ
เรื่อง ผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ
Effects of Chitosan Coating on Storage Life and Postharvest Quality of Papaya Khaek Dam
โดย นายครรชิตพล โพธิ์พรหม
ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ปีการศึกษา 2556
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นงลักษณ์ พยัคฆศิรินาวิน
การศึกษาผลของไคโตซานในการเคลือบผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพภายหลังการเก็บเกี่ยวของมะละกอพันธุ์แขกดำ โดยวางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design แบ่งเป็น 5 กลุ่มทดลองๆ ละ 3 ซ้ำ โดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (30±5 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 8 วัน พบว่าค่าคะแนนสีของผลมะละกอพันธุ์แขกดำ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยค่าคะแนนสีผิวพัฒนาจาก ระยะ 1 ถึง ระยะ 3 และหยุดการพัฒนาสีผิวหลังจากนั้นผลเริ่มเหี่ยวนิ่มและเน่าเสีย เปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดของมะละกอ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ การเคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1.5% มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดน้อยที่สุด ส่วน การไม่เคลือบผิวมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้ำหนักสดมากที่สุด เมื่อเทียบกับกลุ่มทดลองอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อของมะละกอ พบว่าในวันที่ 2 และ 4 มะละกอมีการเปลี่ยนแปลงความแน่นเนื้อ แตกต่างกันทางสถิติ (p=0.05) โดยในวันที่ 2 และ 4 มะละกอที่เคลือบผิวด้วย ไคโตซาน 1.5% มีความแน่นเนื้อมากที่สุด เท่ากับ 58.3 และ 28.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนมะละกอที่ไม่เคลือบ (ชุดควบคุม) มีความแน่นเนื้อน้อยที่สุด เท่ากับ 50.0 และ 21.1 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ พบว่าวันที่ 6 และวันที่ 8 มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p=0.01 และ p=0.05 ตามลำดับ) โดยมะละกอที่เคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1% มีค่าเฉลี่ยปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้สูงสุดคือ 6.1 องศาบริกซ์ รองลงมาคือ การเคลือบผิวด้วยไคโตซาน 1.5% มีค่าเท่ากับ 6.0 องศาบริกซ์ และ การไม่เคลือบผิว มีค่าเท่ากับ 5.1 องศาบริกซ์ โดยทุกกลุ่มทดลองมีแนวโน้มของค่าเฉลี่ยปริมาณ
ของแข็งที่ละลายน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนวันที่ทำการเก็บรักษา ในขณะที่ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ และมีแนวโน้มลดลงในระหว่างการเก็บรักษา
คำสำคัญ ไคโตซาน มะละกอพันธุ์แขกดำ การเก็บรักษา



การศึกษาความสามารถในการย่อยได้ของวัตถุดิบอาหารในสุกรรุ่นพื้นเมือง
ผู้วิจัย ขนิษฐา กล้าจริง | ปีที่พิมพ์ 2557 | อ่าน 88156 ครั้ง ดาวน์โหลด 9 ครั้ง



ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ จากน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะบนอาหารเลี้ยงเชื้อ
ผู้วิจัย วิริญจ์ อรรคธรรม | ปีที่พิมพ์ 2556 | อ่าน 89482 ครั้ง ดาวน์โหลด 27 ครั้ง

ประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพรต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์

จากน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะบนอาหารเลี้ยงเชื้อ

                                 Efficiency of Herbal Extracts on Inhibiting Microorganisms from

Vase Solutions of Cut ChrysanthemumFlowers (Dendranthemumgrandiffloracv.Yuko)on Culture Media

โดย                           นางสาววิริญจ์  อรรคธรรม

ชื่อปริญญา             วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)

ปีการศึกษา             2556

อาจารย์ที่ปรึกษา      อาจารย์ ดร.วิรญา  ครองยุติ

 

    ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากพืชสมุนไพร5 ชนิด (ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่า)ต่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์

ยูโกะโดยแบ่งเป็น 2 การทดลอง คือการทดลองที่ 1)ศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ของพืชสมุนไพร5 ชนิด คือ ใบพลู ใบโหระพา ลำต้นตะไคร้ เหง้าขมิ้น และเหง้าข่าที่ความเข้มข้นเท่ากัน คือ 100,000 ppm ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลูสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีที่สุด  และการทดลองที่ 2)ศึกษาระดับความเข้มข้นของสารสกัดจากสมุนไพรที่เหมาะสมที่สุด ในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะโดยทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยวิธี Disc diffusion methodพบว่าสารสกัดจากใบพลู ที่ระดับความเข้มข้น 20,000ppm เป็นระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุดในการลดการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันของดอกเบญจมาศพันธุ์ยูโกะ ดังนั้น จากผลการทดลองครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เพื่อยืดอายุการปักแจกันของไม้ตัดดอกทดแทนการใช้สารเคมี และรักษาคุณภาพไม้ตัดดอกให้คงคุณภาพดีและก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดต่อไป


เข้าสู่ระบบ